ในอดีตกาลการเพาะเลี้ยงเซลล์ (Cell Culture) เป็นวิธีการเลียนแบบเซลล์ในร่างกายของเรา ซึ่งยังคงเพาะเลี้ยงได้แบบสองมิติ (2D) คือการเลี้ยงเซลล์ลักษณะ Monolayer มีชั้นเดียว โดยทำการเพาะเลี้ยงในภาชนะ (Vessel) แต่การเพาะเลี้ยงเซลล์วิธีวิธีดังกล่าวไม่สามารถเลียนแบบสภาพแวดล้อมที่แท้จริงจริงของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งส่งผลเห็นได้ชัดในงานบางประเภท เช่น การทดสอบการออกฤทธิ์ หรือประสิทธิภาพ (efficacy) ความเป็นพิษ (toxicity) หรือการสร้างอวัยวะเทียม เป็นต้น ซึ่งนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามคิดค้นรูปแบบในการเพาะเลี้ยงเซลล์ให้ใกล้เคียงกับสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายให้ได้มากที่สุด นั่นก็คือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือเซลล์ในรูปแบบสามมิติ (3D culture) โดยลักษณะเป็นทรงกลมเรียกว่า Spheroid นั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์จึงนิยมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบสามมิติ (3D culture) เพื่อสร้างอวัยวะจำลอง ขนาดเล็กที่เรียกว่า ออร์แกนอยด์ (organoid) หรือเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิเคราะห์ต่างๆ โดยอาศัยรูปทรง 3 มิติของเซลล์มาใช้ในการวินิจฉัยผลการทดลองในฤทธิ์และประสิทธิภาพต่างๆ Spheroid จะสามารถจำลองการเจริญเติบโตตามธรรมชาติของเซลล์ได้ใกล้เคียงในร่างกายมาก และเซลล์ที่อยู่ใต้ภาวะนี้จะเติบโตเร็วกว่า 2 มิติ
ประโยชน์และการประยุกต์ใช้การเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ Spheroid
- สามารถลดระยะเวลาในการศึกษา
- สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในกระบวนการพัฒนาการวิเคราะห์งานต่างๆ
- สามารถเตรียมขึ้นได้สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการเพาะเลี้ยงเซลล์มากมายหลายชนิดสำหรับทดสอบ
- สามารถทดลองได้หลากหลายสปีชีส์ รวมถึงมนุษย์สามารถใช้สำหรับการทดสอบต่าง ๆ เช่น การทดสอบความเป็นพิษ (toxicity testing), การศึกษากระบวนการเมตาบอลิสม (metabolism study), การคัดกรองตัวยา (drug screening) เป็นต้น
- สามารถลดจำนวนการใช้สัตว์ทดลองในการทำ drug screening
- เป็นรูปแบบที่ดีในการทดลองสำหรับ in vivo
- เป็นทางเลือกหนึ่งที่ประหยัดในการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพใน primary tissue
ดังนั้นในเห็นได้ว่า การเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ spheroid culture นั้นเป็นแบบจำลอง in vitro ที่สามารถให้ผลใกล้เคียงกับ in vivo เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
ทางบริษัท ANH จึงได้รวบรวมนวัตกรรมสำหรับการเพาะเลี้ยง spheroid culture เพื่อให้นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงเซลล์ ทั้งเพื่อการวิเคราะห์หรืองานถ่ายภาพ imaging เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามในการตีพิมพ์งานวิจัยของผู้ใช้ดังต่อไปนี้