เมื่อพูดถึงโครงสร้างทางเคมี ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก และเป็นกลุ่มที่สามารถนำมาใช้ศึกษางานวิจัยทางด้านชีวการแพทย์ ปัจจุบันงานวิจัยทางด้านการพัฒนาโมเดลจาก primary cells เพื่อใช้ทดสอบยาและการรักษาโรคกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เช่น การพัฒนาโครงสร้าง 3D โมเดลเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เสมือนจริงกับร่างกายของมนุษย์มากที่สุด รวมทั้งการพัฒนา กลุ่มของ Stem cells เพื่อการคิดค้นยารักษาโรค และ เซลล์บำบัด ขั้นตอนหรือการจำลองสภาวะการเลี้ยงเซลล์ในหลอดทดลองที่เสมือนจริงกับสภาวะร่างกายนั้น กลุ่ม small molecule บางชนิดเป็นส่วนสำคัญในการเจริญของเซลล์ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการเติมลงไปใน อาหารที่ใช้เลี้ยงเซลล์ด้วย เช่น Stemolecule™ A83-01 (04-0014 / 04-0014-10) เป็นตัว inhibitor ที่จะไปยับยั้ง TGFβ receptor ALK5 kinase จึงทำให้มีการ ไปกระตุ้น ส่วนของ epithelial-to-mesenchymal transition (EMT) จากการศึกษาพบว่าเป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงการพัฒนา morphology ของ intestinal organoid Stemolecule™ Forskolin (04-0025) ถือได้ว่าเป็นกลุ่มของ natural product
Author Archives: panitsara.s
อิเล็กโทรโฟรีซิส (electrophoresis) เป็นเทคนิคที่ใช้แยกวิเคราะห์สารที่มีประจุโดยใช้สนามไฟฟ้า ซึ่งถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ชื่อ Arne Tiselius ในปี ค.ศ. 1930 โดยเริ่มจากการแยกโปรตีนออกจากเซรั่ม และเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อนำมาใช้แยกโปรตีนในเวลาต่อมา อิเล็กโทรโฟรีซิส เป็นวิธีการแยกสารที่มีประจุโดยผ่านสนามไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งสารที่มีประจุจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงกันข้าม โดยขั้วที่มีประจุบวก (cation) จะเคลื่อนที่เข้าหาประจุลบ (cathode) ส่วนสารที่มีประจุลบ (anion) เคลื่อนที่เข้าหาประจุบวก (anode) ซึ่งสารที่มีประจุจะถูกแยกออกด้วยความแตกต่างของประจุ ตามขนาดและรูปร่างของโมเลกุล สารชีวโมเลกุลที่ถูกนำมาแยกโดยวิธี อิเล็กโทรโฟรีซิส ได้แก่ นิวคลีโอไทด์ และ กรดอะมิโน เปปไทด์ รวมทั้งสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น กรดนิวคลีอิก และ โปรตีน ประเภทของอิเล็กโทรโฟรีซิส แบ่งออกเป็น 2 แบบ ตัวกลางที่เป็นของแข็ง ที่เป็นกระดาษกรอง อิเล็กโทรโฟรีซิส สำหรับตัวกลางจะเป็นกระดาษกรอง จะถูกตัดให้ได้ขนาดที่เหมาะสมแล้วนำไปจุ่มในสารละลายบัฟเฟอร์ ที่ควบคุมค่า pH และต่อเข้ากับระบบกระแสไฟฟ้าให้ครบวงจร สามารถแยกโปรตีนออกจากกันตามประจุ ขนาดของโปรตีน แต่เนื่องด้วยการใช้กระดาษกรองเป็นตัวกลางนั้น ทำได้ง่ายและรวดแร็ว แต่สามารถแยกโมเลกุลที่มีขนาดเล็กได้เท่านั้น และเนื่องจากกระดาษกรองเซลลูโลสมีขนาด
ปัจจจุบันพบว่าโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดหนึ่งในนั้น คือ โรคมะเร็ง สำหรับการรักษาโรคมะเร็งแบบเก่า คือ การผ่าตัด, การฉายแสง และเคมีบำบัด จากการรักษาแบบเดิมที่ได้กล่าวมาพบว่าส่งผลต่ออาการข้างเคียงและการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วย ดังนั้นเมื่อหลายปีไม่นานนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ซึ่งช่วยแพทย์ให้การรักษาโดยการให้ยาอย่างจำเพาะต่อสารเหตุของการเกิด เซลล์มะเร็งได้ตรงจุดมากขึ้น ที่เรียกว่า การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า (Precision medicine หรือ personalized medicine) ที่จะสามารถทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนการการวิจัยได้เริ่ม จากการนำเนื้อเยื่อมะเร็งจากผู้ป่วย มาหาข้อมูลทางด้านพันธุกรรม เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการรักษาหรือหายามุ่งเป้าให้แม่นยำมากขึ้น โดยการหาลำดับสารพันธุกรรม (Sequencing) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะต้องมีการรายงานข้อมูลการผิดปกติของยีนส์ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง (Sequencing Report Data) และเพื่อนำมาคัดเลือกยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละคน โดยแต่ก่อนนั้นการให้ยากับผู้ป่วยจะเป็นแบบที่เรียกว่า one-size-fits-all คือการให้ยาที่ไม่จำเพาะต่อผู้ป่วย ผลจากการได้ข้อมูลรหัสสารพันธุกรรม จากผู้ป่วยแล้วนั้น จะทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถวางแผนการให้ยาได้ จากนั้นเพื่อเป็นการยื่นยันกลุ่มยาที่สามารถให้กับผู่ป่วยนั้น ขั้นตอนต่อไปจึงจำเป็นต้องทดสอบยาในห้องทดลอง โดยการสร้าง 3D เซลล์เปรียบเสมือนจริงในอวัยวะต่างๆ เรียกว่า Patient-derived Organoid หรือ Tumoroid ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังคงมีการศึกษาและพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการสร้าง organoid เพื่อนำไปใช้เป็นโมเดลในการทดสอบยาต้านมะเร็งในอวัยวะต่างๆ เช่น ลำไส้ใหญ่ (Intestinal
เพียงสั่งซื้อ MEDIA ที่เข้าร่วมรายการ ครบ 5 ขวด รับฟรีทันที 1 ขวด (รายการเดียวกัน) สั่งซื้อ หรือติดต่อเทียบสูตร MEDIA ได้ที่ Line: @anhsci
Product Number 25-053-CI Trypsin is used to enzymatically release adherent cells from tissue culture plates for passaging. Divalent cations such as calcium and magnesium, which are often present in the cell culture environment, inhibit this action. EDTA sequesters these ions and thus enhances the efficacy of trypsin. Complete Certificate of Analysis available for each production
ทางเลือกสำหรับเครื่องแก้ว หากพูดถึงเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฎิบัติการ สิ่งแรกที่คำนึงถึงคงเป็นเรื่องความคงทน ซึ่งต้องคงทนต่อสิ่งที่บรรจุภายใน ได้แก่ ความคงทนต่อความเป็นกรด เป็นเบส ความคงทนต่ออุณหภูมิ เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์กับงานของลูกค้า เราขอนำเสนอ Corning® PYREX® Glassware Solutions ขวดแก้วใช้สำหรับจัดเก็บสารและตัวอย่าง ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้ โดย Corning® PYREX® มีปริมาตรสำหรับการใช้งานให้เลือกดังนี้ No.1395-100 PYREX 100mL Round Media StorageBottles, with GL45 Screw Cap No.1395-250 PYREX 250mL Round Media StorageBottles, with GL45 Screw Cap No.1395-500 PYREX 500mL Round Media StorageBottles, with GL45 Screw Cap No.1395-1L PYREX 1L Round Media
Culture Thousands of Spheroids in a Convenient Flask Format With the effectiveness of 3D cell culture in many areas of research, includinganti-cancer drug screening and in vitro tumor studies, the need for bettermethods to produce replicate spheroids of uniform size in mass quantitieshas emerged.The Corning Elplasia 12K flask addresses this need by enabling researchers togenerate
โอมิกส์ (Omics) เป็นสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตแบบองค์รวม ตั้งแต่ระดับสารพันธุกรรม (DNA) กระบวนการคัดลอกรหัสสารพันธุกรรม (RNA) การแปลรหัสพันธุกรรมออกมาเป็น Protein และต่อเนื่องไปจนถึงการศึกษาปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆของสารชีวเคมี สารชีวโมเลกุล ใน กระบวนการสร้างและสลายสารอาหารที่เกิดขึ้นภายในเซลล์(Metabolite) Omics ประกอบด้วย 4 สาขาวิชาความรู้ดังนี้ Genomics เป็นการศึกษาสารพันธุกรรม (DNA) แบบองค์รวม Transcriptomics เป็นการศึกษาการถอดรหัส (Transcription) สารพันธุที่ออกมาเป็น RNA แบบองค์รวม Proteomics เป็นการศึกษาการแสดงออกของโปรตีน (Protein) Metabolomics เป็นการศึกษาปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆของสารชีวเคมี สารชีวโมเลกุล ใน กระบวนการสร้างและสลายสารอาหารที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ (Metabolites) ในปัจจุบันนี้ความรู้ในเรื่อง Omics ได้ใช้เป็นประโยชน์ในหลากหลายทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าดังนี้ การแพทย์ ใช้ในการวิจัยและรักษาโรค การวางแผนการรักษาผู้ป่วย การค้นคว้าเพื่อหาทางเลือกใหม่ในการรักษา และการป้องกันโรคต่างๆ ด้านการเกษตร ปรับปรุงสายพันธ์พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสัมปะหลัง ถั่วเขียว ข้าวโพด ยูคาลิปตัส
ถ้าพูดถึงการศึกษาในเรื่องของโปรตีนนั้น เทคนิคที่สำคัญ ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ก็คือ Western blot เป็นชื่อวิธีการเพื่อใช้ในการวัด การแสดงออกของโปรตีน โดยเรียกอีกซื่อหนึ่งว่า Immunoblot เป็นวิธีที่ใช้ติดตามโปรตีนที่เราต้องการศึกษาหรือสนใจอีกทั้งสามารถใช้ดูการแสดงออกในระดับโปรตีน (Protein Expressรion) และยังสามารถตรวจสอบขนาดและความบริสุทธิ์ของโปรตีน (Protein Purification) ซึ่งเราจะสามารถศึกษาโปรตีนที่เราสนใจโดยใช้หลักการของ gel electrophoresis จากนั้นโปรตีนจะถูกย้ายจากแผ่นเจลไปยังแผ่นเมมแบรน ที่เรียกว่า nitrocellulose membrane ขั้นตอนต่อไป การตรวจสอบโปรตีนที่ต้องการโดยใช้หลักการความจำเพาะของแอนติบอดี้หรือที่เรียกว่า specific antibody จึงสามารถตรวจสอบโปรตีนที่เราสนใจศึกษาได้ สำหรับขั้นตอนการทำ Western blot ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนของการเตรียมตัวอย่างโมเลกุลโปรตีน อาจเป็นตัวอย่างจากเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ โดยเซลล์จะถูกย่อยด้วย lysis buffer แล้วเก็บส่วนที่เป็นโปรตีนทั้งหมด สำหรับการสกัดโปรตีนนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเติมเอนไซม์ protease inhibitor เพื่อเป็นการป้องกันโปรตีนไม่ให้ถูกทำลาย การแยกขนาดของโมเลกุลโปรตีน โดยการทำเจลอิเลคโตรฟอเรซีส ( Gel electrophoresis ) หรือที่รู้จักกันดีคือ Sodium Dodecyl Sulfate
การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ ต่างๆ เช่น ไมโคพลาสมา แบคทีเรีย รา ยีสต์ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งต่างๆที่อยู่ในห้องปฎิบัติการจำเป็นต้องทำให้ปลอดเชื้อ ก่อนใช้งาน อาหารเลี้ยงเซลล์ (Media) ซึ่งประกอบด้วยสารอาหาร โปรตีน กรดอะมิโนต่างๆ จึงไม่สามารถใช้ความร้อนในการทำให้ปราศจากเชื้อได้ จึงจำเป็นต้องใช้การกรองเพื่อฆ่าเชื้อ media รวมทั้งกรองสารละลายต่าง เช่น Phosphate Buffered Saline (PBS), น้ำ อากาศ/ก๊าซ ที่ต้องต่อเข้ากับเครื่องมือในห้องปฎิบัติการ จำเป็นต้องกรองเพื่อทำให้ปราศจากเชื้อ เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น กรองอากาศที่ต่อเข้ากับปั๊มสุญญากาศก่อนต่อกับตัวกรอง (Vacuum Filtration) หรือก่อนเข้าเครื่องบ่มเซลล์ (Incubator) การกรองยังมีความสำคัญในอีกหลายงานนอกเหนือไปจากการเพราะเลี้ยงเซลล์ เช่น การกรองเตรียมตัวอย่างและสารละลายทั้งหมด (Ultracleaning, Charification) ก่อนฉีดเข้าครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารผสมที่อยู่ในสภาวะของเหลว การกรอง (Filtration) คือการแยกสารผสมออกจากกัน โดยผ่านแผ่นกรอง (Membrane) ที่มีรูพรุน (Pore)