เลือก Filtration Membrane แบบไหนถึงเหมาะสม

Filtration (การกรอง) คือการใช้แรงในการแยกอนุภาคของแข็งออกจากของเหลวที่มีส่วนผสมของทั้งของแข็งและของเหลวไหลผ่านตัวแผ่นกรอง (Membrane) ซึ่งมีหน้าที่กักของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดรูของตัวแผ่นกรองไว้ และปล่อยให้ส่วนที่เป็นของเหลวไหลผ่าน  ซึ่งการกรองแบ่งออกได้หลายชนิดตามงานที่ทำ ส่วนประกอบของอุปกรณ์การกรอง ประกอบด้วยดังนี้ 

แต่การกรองสารในรูปแบบเดิมๆ ที่มีแต่เครื่องกรวยกรองอาจจะใช้เวลานานกว่าที่จะกรองสารเสร็จ ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร แต่เมื่อมีปั๊มสุญญากาศมาช่วยเพื่อให้กรองสารเร็วขึ้น ช่วยประหยัดเวลาการทำงานของผู้ใช้งาน เรียกการกรองแบบนี้ว่า Vacuum Filtration   

การใช้งานทั่วไปจะใช้เป็นรูปแบบแก้ว (Glass) ซึ่งเมื่อใช้งานเสร็จแล้วสามารถนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclavable) แต่การนึ่งฆ่าเชื้อนั้นอาจมีการปนเปื้อนภายในหม้อนึ่งฆ่าเชื้อด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่องานด้าน Cell Culture เป็นอย่างมาก ดังนั้นทาง Corning จึงได้ผลิต Disposable Filtration System เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน และเพื่อป้องกันการเกิดการ contaminate ด้วยการ sterile ด้วยรังสีแกมมา (Gamma Radiation) เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อนจาก Pyrogen อย่างแน่นอน

ขั้นตอนการเลือกใช้อุปกรณ์การกรองต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน (Application) ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยดังนี้

  1. สารที่ต้องการกรอง
  2. Pore Size ของ Membrane
  3. Membrane
  4. ปริมาตรที่ต้องการกรอง

การเลือกชนิด Membrane เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดย Corning มี Membrane ให้เลือกใช้หลากหลายดังนี้ 

Polyethersulfone (PES) 

  •  Low protein binding , high flow rate,  less extractable  material,  สารผ่านได้เร็ว และยังมีคุณสมบัติการจับกับโปรตีนต่ำมาก เหมาะกับการกรอง  Media , FBS

Cellulose Acetate (CA)

  • Recommended  for applications  low protein binding การกรองตัวอย่างทางชีวภาพ ในการใช้ร่วมกับ glass pre-filter กรอง general biological sample filtration และ clarification

Cellulose Nitrate (CN)

  • Suitable for buffers, not cell culture การกรองเพื่อทำบริสุทธิ์บัฟเฟอร์และสารละลายอื่น ๆ การใช้งานทั่วไปรวมถึงการกรองน้ำ, การวิเคราะห์จุลินทรีย์และอนุภาคและการใช้งานอาหารและเครื่องดื่ม

 Regenerated Cellulose (RC)

  • Good  chemical Resistance  to solvents,  including DMSO การใช้กันอย่างกว้างขวางในงาน chromatography  สำหรับกรองตัวอย่างในรูปสารละลาย และใช้สำหรับกรองตัวทำละลาย ใช้สำหรับ สารที่มีตัวทำละลายเป็นน้ำ และ  mixed-organic solutions

Nylon (NY)

  • Good chemical Resistance but very low  flow rate ใช้งานได้ดีกับกับการกรอง aqueous and mixed-organic samples

Polytetrafluoroethylene (PTFE, Teflon)

  • Gases ,Organic 100 % Solvent ใช้กับการกรองสารอินทรีย์ที่มีความเป็นกรด-เบสสูงๆได้ รวมถึงใช้กรองตัวทำละลายอินทรีย์ ในงาน chromatography โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกรองตัวอย่างที่อยู่ในรูป non-aqueous 

Corning® Filtration Systems The Smart Choice for Cell Culture Filtration

ทาง Corning มีผลิตภัณฑ์สำหรับการกรอง 3 แบบ  ได้แก่  

  1. Filtration System
  2. Bottle Top Filter
  3. Tube Top Filter

Feature 

1.   Reservoir  มีการตีพิมพ์เลข Cat. No. Membrane Pore size  และ Graduation บนผลิตภัณฑ์ และออกแบบให้ลาดเอียงช่วงท้ายเพื่อให้สารที่กรองไหลลงได้หมด

2.   Membrane เป็นรูปทรง  4  เหลี่ยม เพื่อลดการกักเก็บ Media หรือเหลือสารที่ยังไม่ผ่านการกรองน้อยกว่าแบบวงกลม

3.   มีท่อสวมต่อกับท่อดูดสุญญากาศ เอียงทำมุมกับคอขวด สามารถหมุนได้ 360 องศา เพื่อการสวมต่อสายดูดได้ สะดวกและปลอดภัย (Angled Hose Connector) 

4.   สามารถกรองต่อเนื่องได้ถึง 3 เท่าของปริมาตร (ขึ้นอยู่กับสารที่กรอง)

มี Pore Size ให้เลือก ตั้งแต่ 0.1, 0.22, 0.45 um

ปริมาตร ตั้งแต่  150, 250, 500, 1,000 mL

คลิ๊กเลือกดูผลิตภัณฑ์ Filtration Systems หรือติดต่อตัวแทนจำหน่าย ANH ได้ทั่วประเทศ