ปัจจจุบันพบว่าโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดหนึ่งในนั้น คือ โรคมะเร็ง สำหรับการรักษาโรคมะเร็งแบบเก่า คือ การผ่าตัด, การฉายแสง และเคมีบำบัด จากการรักษาแบบเดิมที่ได้กล่าวมาพบว่าส่งผลต่ออาการข้างเคียงและการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วย ดังนั้นเมื่อหลายปีไม่นานนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีการรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ซึ่งช่วยแพทย์ให้การรักษาโดยการให้ยาอย่างจำเพาะต่อสารเหตุของการเกิด เซลล์มะเร็งได้ตรงจุดมากขึ้น ที่เรียกว่า การรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า (Precision medicine หรือ personalized medicine) ที่จะสามารถทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษา ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนการการวิจัยได้เริ่ม จากการนำเนื้อเยื่อมะเร็งจากผู้ป่วย มาหาข้อมูลทางด้านพันธุกรรม เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการรักษาหรือหายามุ่งเป้าให้แม่นยำมากขึ้น โดยการหาลำดับสารพันธุกรรม (Sequencing) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะต้องมีการรายงานข้อมูลการผิดปกติของยีนส์ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็ง (Sequencing Report Data) และเพื่อนำมาคัดเลือกยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละคน โดยแต่ก่อนนั้นการให้ยากับผู้ป่วยจะเป็นแบบที่เรียกว่า one-size-fits-all คือการให้ยาที่ไม่จำเพาะต่อผู้ป่วย ผลจากการได้ข้อมูลรหัสสารพันธุกรรม จากผู้ป่วยแล้วนั้น จะทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถวางแผนการให้ยาได้ จากนั้นเพื่อเป็นการยื่นยันกลุ่มยาที่สามารถให้กับผู่ป่วยนั้น ขั้นตอนต่อไปจึงจำเป็นต้องทดสอบยาในห้องทดลอง โดยการสร้าง 3D เซลล์เปรียบเสมือนจริงในอวัยวะต่างๆ เรียกว่า Patient-derived Organoid หรือ Tumoroid ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังคงมีการศึกษาและพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการสร้าง organoid เพื่อนำไปใช้เป็นโมเดลในการทดสอบยาต้านมะเร็งในอวัยวะต่างๆ เช่น ลำไส้ใหญ่ (Intestinal organoid) ตับ (Liver organoid) สมอง (Brain organoid) ปอด (Lung organoid) และ ไต (Kidney organoid)
สำหรับการเลี้ยง organoid นั้นจะประกอบไปด้วย media และ supplement ที่มีความจำเพาะต่อการเลี้ยง organoid ในแต่ละอวัยวะของร่างกาย และสามารถเพิ่มจำนวน 3D organoid ได้ปริมาณที่เพียงพอต่อการนำไปทดสอบยาต้านมะเร็งรวมทั้ง สามรถนำไปใช้ในการศึกษา small molecule หรือสารสกัดจากพืชที่มีฤทธิ์ยั้บยังการเกิดมะเร็งได้ โดยเข้าสู่ขั้นตอนการ ทดสอบยา (Drugs screening) ในเพลท 96 และ 384 well plates สำหรับยาที่จะนำมาใช้ทดสอบนั้น จะได้จากการรายงานข้อมูลจากการหาสารลำดับพันธุกรรมนั่นเอง เมื่อเราสามารถได้กลุ่มยาที่เป็น กลุ่มยาเป้าหมายที่ได้ผลการทดลองมาจากการทดสอบยาทางด้านใน invitro แล้วนั้น เซลล์ 3D organoid ยังสามารถนำไปปลูกถ่ายในสัตว์ทดข้ามสายพันธ์ุ เช่น การนำไปปลูกถ่ายในหนู (Patient-derived Xenograft) หนูที่ได้รับการปลูกถ่าย แล้วจะถูกนำไปทดสอบยาในระบบที่เป็น in vivo model เพื่อเป็นการยืนยันว่ายามีความสามารถทำให้ก้อนเซลล์มะเร็งลดลงได้ (In Vivo Drug Validation) ซึ่งจะทำให้ได้ตัวยาที่มีความจำเพาะในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อแพทย์สามารถวางแผนการรักษาให้มีความจำเพาะกับผู้ป่วยในแต่ละรายบุคคล ซึ่งวิธีนี้ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาเพิ่มขึ้นด้วย พร้อมทั้งช่วยลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยได้
และเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัย ทาง A.N.H. Scientific Marketing ได้เป็นผู้นำทางด้านการเพาะเลี้ยง 3D cell culture เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของนักวิทยาศาตร์ไทย ในแบรน์ดของ Corning ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกและ REPROCELL (ผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยี iPSC และ Stemcell) นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ทางด้าน Small Molecule เพื่อใช้ในการศึกษากลไกการเกิดมะเร็ง และ กลุ่ม Growth Factors Cytokines สำหรับสิ่งที่สำคุญที่สุดต้องระวังและคำนึงถึงเสมอคือ ติดเชื้อไมโครพลาสม่าในเซลล์ เพื่อเป็นการระวังในขั้นตอนการทำงาน CellSafe ผลิตภัณฑ์ทางด้านการกำจัดเชื้อไมโครพลาสม่า จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยในเรื่องของ 3D Model for Precision Oncology.