การเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ 3 มิติ (3D cell culture) คือการสร้างสภาพแวดล้อมเทียมภายในภาชนะเลี้ยงเซลล์ (cell culture vessel) ให้คล้ายกับการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายที่เซลล์เจริญเติบโตแบบสามมิติ (3D) เพื่อเลี้ยงเซลล์ ซึ่งแตกต่างจากการเลี้ยงเซลล์ในสภาพแวดล้อม 2 มิติ (2D) ที่เลี้ยงเซลล์ใน cell culture flask, plate และ dish ที่เซลล์จะเติบโตได้ในแนวราบเท่านั้น เนื่องจากการเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ 3D นี้เซลล์สามารถเติบโตได้ในทุกทิศทาง การเลี้ยงเซลล์แบบ 3D สามารถเลียนแบบสภาวะเนื้อเยื่อในเชิงสรีระวิทยาได้ดีกว่าการเลี้ยงเซลล์แบบ 2D ยกตัวอย่างเช่นการเลี้ยงเซลล์มะเร็งแบบ 3D สามารถทำให้ศึกษา การเปลี่ยนแปลงในการแสดงโปรตีน รูปแบบฟอสโฟรีเลชัน และการตอบสนองต่อโมเลกุลของตัวยับยั้ง ได้ดีกว่าการเลี้ยงเซลล์แบบ 2D ดังนั้นการเลี้ยงเซลล์มะเร็งแบบ 3D ทำให้การพัฒนายาหรือศึกษาการตอบสนองของยาต่อได้ดีกว่านั่นเอง วิธีการเลี้ยงเซลล์แบบ 3D แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ scaffold และ scaffold-free การเลี้ยงเซลล์แบบ scaffold คือ เป็นการเลี้ยงเซลล์ใน
Tag Archives: cell culture
Corning 3D Clear Tissue Clearing Reagent ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ 3D cell culture models ช่วยให้นักวิจัยทำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพในงานถ่ายภาพ 3D Spheroid เมื่อไม่นานมานี้ Corning ได้แถลงการณ์สำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่ 3D Clear Tissue Clearing Reagent ตัวช่วยสำหรับการถ่ายภาพ 3D cell culture ที่รวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน โดย Reagent นี้ไม่ทำลายสัณฐานวิทยาของเซลล์ (cellular morphology) สินค้านี้ได้ถูกผลิตและจำหน่ายโดย Visikol และตอนนี้ ตอนนี้มีวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการผ่าน Corning และได้เพิ่มผลิตภัณฑ์นี้เข้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์การเพาะเลี้ยงเซลล์ 3 มิติของ Corning ด้วย การใช้ 3D Clear Tissue Clearing Reagent ช่วยในการถ่ายภาพ 3D Spheroid ทำให้สามารถถ่ายภาพลงไปถึงชั้นที่ลึกๆของ Spheroid เมื่อย้อมด้วย fluorescence
เมื่อปี พ.ศ 2450 Ross Harrison นักชีววิทยาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเซลล์ประสาทของ กบ เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งได้เป็นการจุดประกายให้เกิดความก้าวหน้าในวงการการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ของโลก และต่อมาปี พ.ศ 2495 George Otto Gey นักชีววิทยา จากมหาวิทยาลัย Johns Hopkin ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประสบความสำเร็จในเพาะเลี้ยงเซลล์อมตะ จากมะเร็งมดลูกของมนุษย์เป็นครั้งแรก โดยตั้งชื่อเซลล์ดังกล่าวว่า HeLa Cell Line ซึ่งเซลล์ดังกล่าวได้เป็นต้นแบบในการศึกษาเกี่ยวกับ Cell Biology รวมถึงการพัฒนาการรักษามะเร็งจากการศึกษาพฤติกรรมของเซลล์ดังกล่าว ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้เพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ (Animal Cell Culture) สำหรับการทดสอบยา (Drug Screening) การผลิตและทดสอบวัคซีน การผลิตโปรตีนที่จำเพาะในเซลล์ การใช้เซลล์เพื่อการรักษา (Cell Therapy) และการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxity) เป็นต้น Animal cell culture คือการรักษาสภาพการมีชีวิตและการเจริญเติบโตของเซลล์ ภายใต้สภาวะนอกร่างกาย แต่อยู่ในภาชนะเพาะเลี้ยง (Cell Culture vessel)
Pipette Tip Corning แต่ละรุ่นแตกต่างกันอย่างไร ด้วยสถานการณ์ในท้องตลาด ที่มีการวิจัยและพัฒนากันอย่างไม่หยุดนิ่ง ทาง Corning จึงต้องคิดค้นและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ก้าวทันตามยุคสมัยและตอบโจทย์ผู้บริโภคให้มากที่สุด วันนี้จะขอเล่าถึงการออกแบบปิเปตทิป (Pipette tip) ในแต่ละรุ่นของ Corning ที่ตั้งใจทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้สึกถึงความแตกต่างและตอบโจทย์งานวิจัยที่หลากหลายมากขึ้น รุ่นแรกคือ Pipette Tip รุ่น Original มี 4 ขนาด คือ 10µL, 30 µL, 200 µL, 1000µL ความพิเศษของรุ่นนี้มีความเป็น Universal tip ที่สามารถใช้ได้กับตัวเครื่องดูดจ่ายสารละลาย (Auto pipette) ทุกยี่ห้อ และมีการออกแบบส่วนปลายของ Pipette tip ขนาด 200 µL ให้มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “Beveled orifice” คือทำให้ส่วนปลายของ Pipette Tip มีความเอียงลาดเพื่อลดพื้นที่หน้าตัดของปลาย Pipette tip ให้เหลือน้อยที่สุด (มีลักษณะเป็นปลายหักศอก)